วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551

ขอเชิญทำความรู้จักรกับอาณาจักรของไทยในสมัยโบราณ

อาณาจักรสุโขทัย


ชาติไทยเริ่มมีประวัติเป็นหลักฐานชัดเจน เมื่อไทยได้ตั้งอาณาจักรขึ้น ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ และมีนครหลวงอยู่ที่เมืองสุโขทัย หลักฐานการตั้งอาณาจักรนี้ได้ปรากฎในศิลาจารึกวัดมหาธาตุ และศิลาจารึกวัดศรีชุมหลักที่ 2 ว่า มีพ่อเมืองไทย 2 คน ชื่อพ่อขุนบางกลาวหาว เจ้าเมืองบางยาง กับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด บุตรของพ่อขุนศรีนาวนำถมเจ้าเมืองสุโขทัย ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชของขอม พ่อเมืองทั้งสองนี้ได้รวมกำลังกันยกทัพมาตีสุโขทัย ซึ่งมีผู้ปกครองเมืองเรียกว่า “ขอมสมาดโขลญลำพง” รักษาอยู่ เมื่อตีได้เมืองสุโขทัยแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกให้พ่อขุนบางกลาวหาวเป็นเจ้าเมืองครองกรุงสุโขทัย มีนามตามอย่างที่ขอมเคยตั้งนามเจ้าเมืองสุโขทัยแต่ก่อนว่า “ศรีอินทรปตินทราทิตย์” แต่เรียกในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า “ขุนศรีอินทราทิตย์” นับว่ากรุงสุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครองและมีเอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อประมาณ พ.ศ. 1800
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีชื่อนางเสือง และมีพระราชโอรสด้วยกัน 3 พระองค์ องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมีนามว่า “บานเมือง” และองค์เล็กมีนามว่า “พระรามคำแหง” เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนบานเมืองได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา พ่อขุนบานเมืองได้ทรงตั้งพระรามคำแหงเป็นมหาอุปราชไปครองเมืองชะเลียง พ่อขุนบานเมืองได้ครองราชย์อยู่จนถึงราว พ.ศ. 1822 ก็สวรรคต พระรามคำแหงพระอนุชาจึงได้รับราชสมบัติขึ้นครองกรุงสุโขทัยสืบต่อมา

ลำดับกษัตริย์ที่ครองกรุงสุโขทัย

1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ 6. พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)
2. พ่อขุนบานเมือง 7. พระมหาธรรมราชาที่ 2
3. พระขุนรามราช (รามคำแหง) 8. พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท)
4. พระยาเลอไท 9. พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)
5. พระยางัวนำถม

อนึ่ง *คำว่า “พระร่วง” น่าจะหมายถึง พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่ครองกรุงสุโขทัย เพราะไม่มีหลักฐานแสดงว่ากษัตริย์องค์หนึ่งองค์ใดมีพระนามว่าพระร่วงอย่างแน่ชัด*

อาณาจักรศรีวิชัย

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร(สำริด)
พบที่หน้าวัดพระมหาธาตุ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 14-15
อาณาจักรศรีวิชัย ตามความเชื่อและสันนิษฐานของนักโบราณคดีว่ามีความเจริญอยู่ระหว่าง
พุทธศตวรรษของนักโบราณคดีว่ามีความเจริญอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 มีอาณาเขตตั้งแต่
บริเวณภาคใต้ของไทยไปจนถึงเกาะสุมาตราและเกาะชวา แต่ศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักรนั้น
นักโปราณคดีต่างก็ให้ข้อคิดเห็นไปต่างๆ กัน เช่นศาตรจารย์ยอร์ว เซเดส์ ว่าอยู่ที่ปาเล็มบังในเกาะสุมา -
ตรา นายมาร์ชุมดา ว่า อยู่แนวอำเภอไชยา สุราษฤชฎร์ธานี ส่วน ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ว่าน่าจะอยู่แถว
สุราษฎร์ธานี ถึงนครศรีธรรมราช แต่จดหมายเหตุราชวงค์ถังที่เพิ่งสอบทานใหม่ว่าอยู่ราวเส้นรุ้งที่ 6
องศา 7 ลิปดาเหนือ ถ้าหากการคำนวญนี้ถูกต้องก็แสดงว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยจะอยู่ไม่ต่ำกว่า
จังหวัดปัตตานีลงไป
เมืองที่น่าสนใจที่พ่อค้าจีนมักจะพูดถึงเสมอคือ เมืองเซโจถึง ซึ่งเข้าใจว่าคืออำเภาสะทิงพระ
จังหวัดสงขลา ปัจจุบันเมื่อดูจากภาพถ่ายทางอากาศจากบริเวณ อำเภอสะทิงพระขึ้นไปจนถึงผาหัวแดง
อำเภอเมืองสงขลา จะเห็นว่าภายในเขตเมืองมีระบบการชลประทานที่ดีมาแล้วแต่โปราณคือ การขุดตระ
พัง หรือสระน้ำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพื่อเก็บน้ำจืดเป็นระยะ ๆ และมีคลองเชื่อมต่อถึงกันดูเป็นเส้นตรง ปัจจุบัน
ร่องรอยของเมืองถูกทับถมอยู่ใต้พื้นทราย แต่ก็ได้พบประติมากรรมหลายชิ้นจากบริเวณนี้


พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย
ประทับบนบัลลังก์มีซุ้มเรือนแก้ว และประภามณฑล มีศักติขนาบ 2 ข้าง มีสิงห์รองรับบัลลังก์ 2 ตัว ศิลปศรีวิชัย

อาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางค้าขายที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้
พบของใช้ของชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายเช่น เหรียญกษาปณ์ ของชาวเฟอร์นิเชีย ลูกปัดโรมันที่ทุ่งตึก
จังหวัดพังงา ที่ควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
นอกจากจะเป็นศูนย์กลางการค้าขายแล้ว อาณาจักรศรีวิชัยยังเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดใน
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
ลักษณะศิลปะกรรมภาคใต้หรือศิลปะแบบศรีวิชัยส่วนมากเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธ-
ศาสนา ลัทธิมหายาน จึงมักพบรูปพระโพธิสัตว์ เช่นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอาริยเมนไตรย
โพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ไวโรจนะ และนิยมสร้างนางคู่บารมีของพระโพธิสัตว์หรือที่เรียกว่า "ศักติ" ด้วย
เช่น นางตรา นางปรัชญาปารมิตา หรือนางปัญญาบารมี นอกจากนี้ยังได้พบศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา
พราหมณ์ในลัทธิไวษณพนิกาย นิยมสร้างรูปพระศิวะหรือพระอิศวร พระนารายณ์หรือพระวิษณุ พระพรหม
และพิฆเณศวรหรือคณาบดี นอกจากนี้ก็นิยมสร้างศักติของพระเป็นเจ้าเหล่านี้เช่นเดียวกับศักติของพระ
โพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายานคือพระอุมา หรือนางปรรพตีเป็นศักติของพระอิศวร พระลักษมี
เป็นศักติของพระนารายณ์ ฯลฯ


พระพุทธรูปนาคปรก (สำริด)
พบที่วัดบรมธาตุไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร


จากศิลปะที่ได้พบอาจจำแนกอายุของศิลปะศรีวิชัยหรือศิลปะที่พบในทางภาคใต้ของไทยได้เป็น 4
สมัย คือ
1. ระหว่างพุทธศตรรวษที่ 8 - 10 เป็นระยะที่ศิลปะอินเดียแบบอมราวดีกำลังเจริญรุ่งเรียง ศิลปะที่
พบเป็นประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย ประติมากรรมที่เก่าที่สุดพบที่อำเภอไชยา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดเป็นศิลปะแบบที่เรียก "เทวรูปรุ่นเก่า" และมีพบอีกบ้างที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัด
พังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอเวียงสระ
จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นต้น แต่อายะรุ่นหลังลงมา
ส่วนประติมากรรมในพุทธศาสนาที่พบคือ พระพุทธรูปยืนปางประทานพร สลักด้วยหินทราย มีอายุ
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 แสดงลักษณะศิลปะอินเดียแบบสารนาถ
2. ศิลปะที่ได้รับอิทธิจากศิลปะทวารวดีกำหนดอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ขณะเดียวกับ
ศิลปกรรมในภาคใต้ก็แสดงให้เห็นว่าช่างได้พยายามที่จะสร้างสรรค์งานให้เป็นแบบฉบับของตนเอง
3. อิทธิพลจากอินเดียแบบปาละและศิลปะชวาภาคกลางระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-16 ระยะนี้โดย
เฉพาะระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-16 ศิลปะศรีวิชัยมีลักษณะคล้ายศิลปะชวาภาคกลางมากกว่าศิลปะจาก
อินเดีย
4. อิทธิพลศิลปะลพบุรีระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19 ประติมากรรมที่พบเช่นพระโพธิสัตว์อวโลกิ-
เตศวรสิบเศียร ยี่สิบกร และพระวัชรโพธิสัตว์พบที่อำเภอสทิงพระจังหวัดสงขลา แต่รายละเอียดต่าง ๆ ยัง
คงแบบศิลประศรีวิชัยไว้
5. อย่างไรก็ดี หลังจากพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นไป ลักษณะของศิลปกรรมก็ยังคงเป็นแบบพื้น
เมืองบ้างรับอิทธิพลจากที่อื่นบ้าง แต่ศิลปะที่พบว่าเป็นของภาคใต้อย่างแท้จริงคือ ลักษณะพระพุทธรูป
แบบ "ขนมต้ม" ซึ่งนิยมสร้างกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและปัจจุบันก็ยังคงสร้างกันเป็นบ้างครั้ง











อาณาจักรล้านนา
ก่อตั้งขึ้นมาในเวลาไล่เลี่ยกับอาณาจักรสุโขทัย โดยพระยาเม็งรายผู้ซึ่งขึ้นมาเป็นกษัตริย์ ครองเมืองเชียงแสนในปีพศ.1804(1261) ซึ่งมีดินแดนอยู่ทางตอนเหนือ เป็นเวลาเดียว กับที่ทางเมืองจีนซึ่งมีกุบไลข่านเป็นผู้นำกำลังขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ และตีได้เมือง พุกาม [Pagan] ในปีพศ.1826-1830 (1283-1287) พระยาเม็งรายเกรงว่าจะรับมือ กุบไลข่านไม่ไหว เพราะชายแดนทางด้านเหนือของเชียงแสนมีอาณาเขตติดต่อกับจีน ถ้าจีนยกทัพลงมาก็จะเข้าถึงเมือง ได้โดยง่าย พระองค์จึงทรงย้ายเมืองลงมาทางใต้ แล้ว สร้างเมืองเชียงรายในปีพศ.1805 (1262) พร้อมทั้งได้ทำสัญญา เป็นไมตรีกับพ่อขุน รามและพระยางำเมืองในปี พศ.1819(1276) หลังจากนั้นจึงสร้างเมืองพร้าวเพื่อเป็น ที่ชุมนุมพล และยกกำลังจากเมืองพร้าวลงไปตีหริภุญไชยได้ในปีพศ.1824 (1281)
พระองค์ทรงสร้างเมืองเวียงกุมกามเพื่อเป็นที่ประทับในปีพศ. 1829(1286)และสร้าง เมืองเชียงใหม่ในปีพศ.1839(1296) โดยมีพระสหายคือพ่อขุนรามแห่งสุโขทัยและพระ ยางำเมืองแห่งพะเยาเป็นผู้ช่วยเหลือ แล้วจึงประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่จนสิ้นพระชนม์ เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นเมืองหลวงของล้านนาตั้งแต่บัดนั้น และได้สร้างความเจริญต่อ มาถึง 265 ปี ยกเว้นระหว่างปีพศ.1854-1888 (1311-1345) ซึ่งกษัตริย์เชียงใหม่ ทรงย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เชียงรายและเชียงแสนเป็นการชั่วคราว โดยเชียงใหม่มีฐานะ เป็นเพียงเมืองเจ้าราชบุตร เนื่องจากดินแดนทางลุ่มแม่น้ำกกยังไม่มีความสงบเรียบร้อย ดี จำเป็นต้องจัดการให้เรียบร้อย จนถึงสมัยพระเจ้าคำฟูซึ่งรวมเอาแคว้นพะเยาเข้ามา ไว้ในอำนาจได้ในปีพศ.1881เมื่อพระเจ้าผายูขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ในปีพศ.1888 จึงมิได้ประทับที่เชียงแสนเหมือนกษัตริย์ล้านนาองค์ก่อนๆ
เชียงใหม่มีความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา ตลอดจนศิลปและ วัฒนธรรมที่เป็นแบบฉบับล้านนาโดยเฉพาะ ซึ่งเกิดจากการที่เชียงใหม่ได้มีการติดต่อ กับอาณาจักรต่างๆเช่น พุกาม และสุโขทัย มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ศิลปและ สถาปัตยกรรม แล้วจึงนำมาผสมผสานจนเกิดเป็นศิลปในแบบเฉพาะของล้านนา แม้ ในเวลาที่พม่าเข้ามาปกครอง พม่ายังได้สร้างถาวรวัตถุเอาไว้ในเมืองเชียงใหม่มากมาย แต่ก็ไม่เคยได้สร้างอะไรที่เป็นรูปแบบของพม่า โดยล้วนสร้างในรูปแบบล้านนาทั้งสิ้น
ในสมัยพระเจ้ากือนา เชียงใหม่ได้รับเอาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาจากเมือง สุโขทัย โดยพระสุมนเถระเป็นผู้นำเข้ามาในปี พศ.1914 (1371) เชียงใหม่จึงกลาย เป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาแทนหริภุญไชย นับแต่นั้น
ประมาณปีพศ. 2092 เชียงใหม่ยังไม่มีกษัตริย์ปกครอง จึงได้เชิญเจ้าเชษวงศ์ โอรสของ พระเจ้าโพธิสารธรรมิกราช กษัตริย์ล้านช้างและพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากเมืองเชียง ใหม่ ให้มาครองเมืองเชียงใหม่ ทรงพระนามว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ปีพศ. 2094 พระไชยเชษฐาก็กลับไปเมืองหลวงพระบาง พร้อมทั้งได้นำเอาพระแก้วมรกต พระแก้ว ขาว (พระแก้วผลึก) และพระแซกคำไปไว้ที่เมืองหลวงพระบางด้วย ในปีพศ. 2101 ทางหลวงพระบางเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้น พระไชยเชษฐาจึงได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ เวียงจันทน์และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เวียงจันทน์ในคราวเดียวกันนั้น ต่อมา ภายหลัง ชาวเมืองเชียงใหม่จึงได้ติดตามไปทวงพระแก้วมรกตคืน โดยได้พากันพักแรม อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงในฝั่งไทย แต่พระไชยเชษฐาก็คืนให้แต่พระแก้วขาวเท่านั้นโดยยังคง เก็บรักษาพระแก้วมรกตและพระแซกคำไว้ที่เมืองเวียงจันทน์ จนถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พระเจ้าสิริบุญสารเจ้าเมืองเวียงจันทน์ได้ฆ่าพระวอซึ่งหนีมาพึ่งไทยตายที่หนองบัวลำภู ทางธนบุรีจึงได้ส่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกกองทัพขึ้นไปปราบ แล้วจึงได้อัญ เชิญพระแก้วมรกตมาไว้ยังกรุงธนบุรีและกรุงเทพฯ ตามลำดับ
ในขณะที่เชียงใหม่กำลังสร้างความเจริญอยู่นั้น ในเวลาเดียวกันก็ต้องเผชิญกับปัญหา ทางด้านสงครามกับอยุธยาและพม่าอยู่บ่อยครั้ง ดังจะเห็นได้ว่ามีการยกทัพมาสู้รบกัน อยู่เสมอ จนกระทั่งในสมัยพญาญีบา เชียงใหม่เกิดความอ่อนแอทางด้านเศรษฐกิจ อย่างหนัก บางปีมีอัตราเงินเฟ้อถึง 45% ทำให้เชียงใหม่เกิดปัญหาอย่างมาก ซึ่งใน บางสมัยไม่มีการสร้างวัดเลย เพราะประชาชนไม่มีเงินที่จะสร้าง ดังนั้นในปีพศ. 2101 (1558) ในสมัยพระเจ้าเมกุฎิ เมื่อถูกพม่าโดยพระเจ้าบุเรงนอง บุกเข้าโจมตีจึงเสีย เมืองให้พม่าโดยง่ายในเวลาเพียง 3 วัน และถูกพม่าเข้าครอบครองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ปีพศ.2244 (1701) พม่าได้แบ่งล้านนาออกเป็น 2 ส่วนคือตัดเชียงแสนออกไป โดย ให้เมืองเล็กๆ ในบริเวณนั้นขึ้นกับ เมืองเชียงแสน จนถึงปีพศ.2317 (1774) เชียง ใหม่จึงได้หลุดพ้นจากอำนาจพม่าด้วยการช่วยเหลือของพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยเจ้ากา วิลละได้ขอความช่วยเหลือมายังธนบุรีแล้ว เชียงใหม่จึงเข้ามาสวามิภักดิ์กับไทยและ เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทย จนถึงทุกวันนี้