อาณาจักรล้านนา
ก่อตั้งขึ้นมาในเวลาไล่เลี่ยกับอาณาจักรสุโขทัย โดยพระยาเม็งรายผู้ซึ่งขึ้นมาเป็นกษัตริย์ ครองเมืองเชียงแสนในปีพศ.1804(1261) ซึ่งมีดินแดนอยู่ทางตอนเหนือ เป็นเวลาเดียว กับที่ทางเมืองจีนซึ่งมีกุบไลข่านเป็นผู้นำกำลังขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ และตีได้เมือง พุกาม [Pagan] ในปีพศ.1826-1830 (1283-1287) พระยาเม็งรายเกรงว่าจะรับมือ กุบไลข่านไม่ไหว เพราะชายแดนทางด้านเหนือของเชียงแสนมีอาณาเขตติดต่อกับจีน ถ้าจีนยกทัพลงมาก็จะเข้าถึงเมือง ได้โดยง่าย พระองค์จึงทรงย้ายเมืองลงมาทางใต้ แล้ว สร้างเมืองเชียงรายในปีพศ.1805 (1262) พร้อมทั้งได้ทำสัญญา เป็นไมตรีกับพ่อขุน รามและพระยางำเมืองในปี พศ.1819(1276) หลังจากนั้นจึงสร้างเมืองพร้าวเพื่อเป็น ที่ชุมนุมพล และยกกำลังจากเมืองพร้าวลงไปตีหริภุญไชยได้ในปีพศ.1824 (1281)
พระองค์ทรงสร้างเมืองเวียงกุมกามเพื่อเป็นที่ประทับในปีพศ. 1829(1286)และสร้าง เมืองเชียงใหม่ในปีพศ.1839(1296) โดยมีพระสหายคือพ่อขุนรามแห่งสุโขทัยและพระ ยางำเมืองแห่งพะเยาเป็นผู้ช่วยเหลือ แล้วจึงประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่จนสิ้นพระชนม์ เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นเมืองหลวงของล้านนาตั้งแต่บัดนั้น และได้สร้างความเจริญต่อ มาถึง 265 ปี ยกเว้นระหว่างปีพศ.1854-1888 (1311-1345) ซึ่งกษัตริย์เชียงใหม่ ทรงย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เชียงรายและเชียงแสนเป็นการชั่วคราว โดยเชียงใหม่มีฐานะ เป็นเพียงเมืองเจ้าราชบุตร เนื่องจากดินแดนทางลุ่มแม่น้ำกกยังไม่มีความสงบเรียบร้อย ดี จำเป็นต้องจัดการให้เรียบร้อย จนถึงสมัยพระเจ้าคำฟูซึ่งรวมเอาแคว้นพะเยาเข้ามา ไว้ในอำนาจได้ในปีพศ.1881เมื่อพระเจ้าผายูขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ในปีพศ.1888 จึงมิได้ประทับที่เชียงแสนเหมือนกษัตริย์ล้านนาองค์ก่อนๆ
เชียงใหม่มีความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา ตลอดจนศิลปและ วัฒนธรรมที่เป็นแบบฉบับล้านนาโดยเฉพาะ ซึ่งเกิดจากการที่เชียงใหม่ได้มีการติดต่อ กับอาณาจักรต่างๆเช่น พุกาม และสุโขทัย มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ศิลปและ สถาปัตยกรรม แล้วจึงนำมาผสมผสานจนเกิดเป็นศิลปในแบบเฉพาะของล้านนา แม้ ในเวลาที่พม่าเข้ามาปกครอง พม่ายังได้สร้างถาวรวัตถุเอาไว้ในเมืองเชียงใหม่มากมาย แต่ก็ไม่เคยได้สร้างอะไรที่เป็นรูปแบบของพม่า โดยล้วนสร้างในรูปแบบล้านนาทั้งสิ้น
ในสมัยพระเจ้ากือนา เชียงใหม่ได้รับเอาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาจากเมือง สุโขทัย โดยพระสุมนเถระเป็นผู้นำเข้ามาในปี พศ.1914 (1371) เชียงใหม่จึงกลาย เป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาแทนหริภุญไชย นับแต่นั้น
ประมาณปีพศ. 2092 เชียงใหม่ยังไม่มีกษัตริย์ปกครอง จึงได้เชิญเจ้าเชษวงศ์ โอรสของ พระเจ้าโพธิสารธรรมิกราช กษัตริย์ล้านช้างและพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากเมืองเชียง ใหม่ ให้มาครองเมืองเชียงใหม่ ทรงพระนามว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ปีพศ. 2094 พระไชยเชษฐาก็กลับไปเมืองหลวงพระบาง พร้อมทั้งได้นำเอาพระแก้วมรกต พระแก้ว ขาว (พระแก้วผลึก) และพระแซกคำไปไว้ที่เมืองหลวงพระบางด้วย ในปีพศ. 2101 ทางหลวงพระบางเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้น พระไชยเชษฐาจึงได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ เวียงจันทน์และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เวียงจันทน์ในคราวเดียวกันนั้น ต่อมา ภายหลัง ชาวเมืองเชียงใหม่จึงได้ติดตามไปทวงพระแก้วมรกตคืน โดยได้พากันพักแรม อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงในฝั่งไทย แต่พระไชยเชษฐาก็คืนให้แต่พระแก้วขาวเท่านั้นโดยยังคง เก็บรักษาพระแก้วมรกตและพระแซกคำไว้ที่เมืองเวียงจันทน์ จนถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พระเจ้าสิริบุญสารเจ้าเมืองเวียงจันทน์ได้ฆ่าพระวอซึ่งหนีมาพึ่งไทยตายที่หนองบัวลำภู ทางธนบุรีจึงได้ส่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกกองทัพขึ้นไปปราบ แล้วจึงได้อัญ เชิญพระแก้วมรกตมาไว้ยังกรุงธนบุรีและกรุงเทพฯ ตามลำดับ
ในขณะที่เชียงใหม่กำลังสร้างความเจริญอยู่นั้น ในเวลาเดียวกันก็ต้องเผชิญกับปัญหา ทางด้านสงครามกับอยุธยาและพม่าอยู่บ่อยครั้ง ดังจะเห็นได้ว่ามีการยกทัพมาสู้รบกัน อยู่เสมอ จนกระทั่งในสมัยพญาญีบา เชียงใหม่เกิดความอ่อนแอทางด้านเศรษฐกิจ อย่างหนัก บางปีมีอัตราเงินเฟ้อถึง 45% ทำให้เชียงใหม่เกิดปัญหาอย่างมาก ซึ่งใน บางสมัยไม่มีการสร้างวัดเลย เพราะประชาชนไม่มีเงินที่จะสร้าง ดังนั้นในปีพศ. 2101 (1558) ในสมัยพระเจ้าเมกุฎิ เมื่อถูกพม่าโดยพระเจ้าบุเรงนอง บุกเข้าโจมตีจึงเสีย เมืองให้พม่าโดยง่ายในเวลาเพียง 3 วัน และถูกพม่าเข้าครอบครองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ปีพศ.2244 (1701) พม่าได้แบ่งล้านนาออกเป็น 2 ส่วนคือตัดเชียงแสนออกไป โดย ให้เมืองเล็กๆ ในบริเวณนั้นขึ้นกับ เมืองเชียงแสน จนถึงปีพศ.2317 (1774) เชียง ใหม่จึงได้หลุดพ้นจากอำนาจพม่าด้วยการช่วยเหลือของพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยเจ้ากา วิลละได้ขอความช่วยเหลือมายังธนบุรีแล้ว เชียงใหม่จึงเข้ามาสวามิภักดิ์กับไทยและ เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทย จนถึงทุกวันนี้
พระองค์ทรงสร้างเมืองเวียงกุมกามเพื่อเป็นที่ประทับในปีพศ. 1829(1286)และสร้าง เมืองเชียงใหม่ในปีพศ.1839(1296) โดยมีพระสหายคือพ่อขุนรามแห่งสุโขทัยและพระ ยางำเมืองแห่งพะเยาเป็นผู้ช่วยเหลือ แล้วจึงประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่จนสิ้นพระชนม์ เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นเมืองหลวงของล้านนาตั้งแต่บัดนั้น และได้สร้างความเจริญต่อ มาถึง 265 ปี ยกเว้นระหว่างปีพศ.1854-1888 (1311-1345) ซึ่งกษัตริย์เชียงใหม่ ทรงย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เชียงรายและเชียงแสนเป็นการชั่วคราว โดยเชียงใหม่มีฐานะ เป็นเพียงเมืองเจ้าราชบุตร เนื่องจากดินแดนทางลุ่มแม่น้ำกกยังไม่มีความสงบเรียบร้อย ดี จำเป็นต้องจัดการให้เรียบร้อย จนถึงสมัยพระเจ้าคำฟูซึ่งรวมเอาแคว้นพะเยาเข้ามา ไว้ในอำนาจได้ในปีพศ.1881เมื่อพระเจ้าผายูขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ในปีพศ.1888 จึงมิได้ประทับที่เชียงแสนเหมือนกษัตริย์ล้านนาองค์ก่อนๆ
เชียงใหม่มีความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา ตลอดจนศิลปและ วัฒนธรรมที่เป็นแบบฉบับล้านนาโดยเฉพาะ ซึ่งเกิดจากการที่เชียงใหม่ได้มีการติดต่อ กับอาณาจักรต่างๆเช่น พุกาม และสุโขทัย มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ศิลปและ สถาปัตยกรรม แล้วจึงนำมาผสมผสานจนเกิดเป็นศิลปในแบบเฉพาะของล้านนา แม้ ในเวลาที่พม่าเข้ามาปกครอง พม่ายังได้สร้างถาวรวัตถุเอาไว้ในเมืองเชียงใหม่มากมาย แต่ก็ไม่เคยได้สร้างอะไรที่เป็นรูปแบบของพม่า โดยล้วนสร้างในรูปแบบล้านนาทั้งสิ้น
ในสมัยพระเจ้ากือนา เชียงใหม่ได้รับเอาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาจากเมือง สุโขทัย โดยพระสุมนเถระเป็นผู้นำเข้ามาในปี พศ.1914 (1371) เชียงใหม่จึงกลาย เป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาแทนหริภุญไชย นับแต่นั้น
ประมาณปีพศ. 2092 เชียงใหม่ยังไม่มีกษัตริย์ปกครอง จึงได้เชิญเจ้าเชษวงศ์ โอรสของ พระเจ้าโพธิสารธรรมิกราช กษัตริย์ล้านช้างและพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากเมืองเชียง ใหม่ ให้มาครองเมืองเชียงใหม่ ทรงพระนามว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ปีพศ. 2094 พระไชยเชษฐาก็กลับไปเมืองหลวงพระบาง พร้อมทั้งได้นำเอาพระแก้วมรกต พระแก้ว ขาว (พระแก้วผลึก) และพระแซกคำไปไว้ที่เมืองหลวงพระบางด้วย ในปีพศ. 2101 ทางหลวงพระบางเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้น พระไชยเชษฐาจึงได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ เวียงจันทน์และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เวียงจันทน์ในคราวเดียวกันนั้น ต่อมา ภายหลัง ชาวเมืองเชียงใหม่จึงได้ติดตามไปทวงพระแก้วมรกตคืน โดยได้พากันพักแรม อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงในฝั่งไทย แต่พระไชยเชษฐาก็คืนให้แต่พระแก้วขาวเท่านั้นโดยยังคง เก็บรักษาพระแก้วมรกตและพระแซกคำไว้ที่เมืองเวียงจันทน์ จนถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พระเจ้าสิริบุญสารเจ้าเมืองเวียงจันทน์ได้ฆ่าพระวอซึ่งหนีมาพึ่งไทยตายที่หนองบัวลำภู ทางธนบุรีจึงได้ส่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกกองทัพขึ้นไปปราบ แล้วจึงได้อัญ เชิญพระแก้วมรกตมาไว้ยังกรุงธนบุรีและกรุงเทพฯ ตามลำดับ
ในขณะที่เชียงใหม่กำลังสร้างความเจริญอยู่นั้น ในเวลาเดียวกันก็ต้องเผชิญกับปัญหา ทางด้านสงครามกับอยุธยาและพม่าอยู่บ่อยครั้ง ดังจะเห็นได้ว่ามีการยกทัพมาสู้รบกัน อยู่เสมอ จนกระทั่งในสมัยพญาญีบา เชียงใหม่เกิดความอ่อนแอทางด้านเศรษฐกิจ อย่างหนัก บางปีมีอัตราเงินเฟ้อถึง 45% ทำให้เชียงใหม่เกิดปัญหาอย่างมาก ซึ่งใน บางสมัยไม่มีการสร้างวัดเลย เพราะประชาชนไม่มีเงินที่จะสร้าง ดังนั้นในปีพศ. 2101 (1558) ในสมัยพระเจ้าเมกุฎิ เมื่อถูกพม่าโดยพระเจ้าบุเรงนอง บุกเข้าโจมตีจึงเสีย เมืองให้พม่าโดยง่ายในเวลาเพียง 3 วัน และถูกพม่าเข้าครอบครองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ปีพศ.2244 (1701) พม่าได้แบ่งล้านนาออกเป็น 2 ส่วนคือตัดเชียงแสนออกไป โดย ให้เมืองเล็กๆ ในบริเวณนั้นขึ้นกับ เมืองเชียงแสน จนถึงปีพศ.2317 (1774) เชียง ใหม่จึงได้หลุดพ้นจากอำนาจพม่าด้วยการช่วยเหลือของพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยเจ้ากา วิลละได้ขอความช่วยเหลือมายังธนบุรีแล้ว เชียงใหม่จึงเข้ามาสวามิภักดิ์กับไทยและ เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทย จนถึงทุกวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น